• ชอง

    คำว่า “ชอง” แปลว่า “คน” ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมในดินแดนเอเชียอาคเนย์ สมัยอาณาจักรเขมร เป็นกลุ่มชนที่มีชื่อเสียงในการทำกระวาน และเครื่องเทศต่าง ๆ ชาวชองและกลุ่มชนใกล้เคียง กระจายตัวอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะบริเวณที่ต่อเนื่องกับประเทศกัมพูชา ในบางพื้นที่จะเรียกคนชองว่า “ชึ่มช์อง” ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่หนาแน่นในเขตกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี ตำบลตะเคียนทอง และตำบลคลองพลู ส่วนในเขตตำบลพลวง และในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อนยังมีประชากรที่พูดภาษาชองได้เพียงไม่กี่คน ชาวชองส่วนมากประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ และยางพารา มีการทำนาเพื่อกินในครอบครัว ส่วนการทำกระวานมีเฉพาะในเขตเขาสอยดาว [galleries…


    Continue reading
  • ชอุง

    คำว่า ชอุง มีความหมายว่า “คน” ออกเสียงด้วยลักษณะน้ำเสียงต่ำกระตุกคล้ายคำว่า ชอง ในภาษาชอง ชาวชอุงปัจจุบันอยู่ที่บ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ และบางส่วนอยู่ในอำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ถิ่นฐานเดิมของพวกเขายู่ในจังหวัดกัมปงโสม จังหวัดชายทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา โดยสันนิษฐานว่า ชาวชอุงที่อยู่ในประเทศไทยอพยพเข้ามาในช่วงเวลาของสงครามอานามสยามยุทธราวพุทธศักราช ๒๓๗๔ – ๒๓๘๗ โดยพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพนำชาวชอุงเดินทางจากตะวันออกสู่จังหวัดกาญจนบุรี สุดแดนตะวันตกของประเทศไทย และให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมแม่น้ำแคว อำเภอลาดหญ้า ก่อนที่ชาวชอุงกลุ่มใหญ่จะย้ายไปยังอำเภอศรีสวัสดิ์ในปัจจุบัน พวกเขาเป็นที่รู้จักในชื่อ อูด ข่าสะอูด…


    Continue reading
  • ภาษาญัฮกุร

    คำว่า “ญัฮกุร” แปลว่า “คนภูเขา” ญัฮ แปลว่า “คน” และ กุร แปลว่า “ภูเขา” คนทั่วไปรู้จักคนกลุ่มนี้ในนาม “คนดง” หรือ “ชาวบน” ชาวญัฮกุรอาศัยอยู่ในป่าบนภูเขา เดิมเป็นพรานป่าและย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ เคยอาศัยอยู่ในป่าแถบเทือกเขาพังเหย มีอาณาเขตที่ต่อเนื่องกันระหว่างภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา…


    Continue reading
  • ซัมเร

    ผู้พูดพูดซัมเร มีถิ่นฐานอยู่ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ที่หมู่บ้านมะม่วง บ้านนนทรีย์ และบ้านคลองโอน เขตตำบลนนทรีย์ เชื่อว่าชาวซัมเรเป็นคนพื้นถิ่นแต่ดั้งเดิม อพยพมาจากบริเวณเทือกเขาบรรทัดในกัมพูชา คำว่า ซัมเร มีความหมายว่า “คน (คนทำนา)” เป็นชื่อที่ผู้พูดเรียกกลุ่มตนเองและภาษาของพวกเขา แต่บุคคลภายนอกเรียก ชอง เช่นเดียวกับเรียกกลุ่มกะซองซึ่งอยู่ในตำบลใกล้ๆ กัน ชาวซัมเรเองก็ยอมรับชื่อที่คนภายนอกเรียกกลุ่มตนไปด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นคนละกลุ่มคนละภาษากัน วิถีชีวิตของกลุ่มซัมเรไม่ค่อยเป็นที่รูจักของสังคมภายนอก แม้ว่าจะเป็นคนพื้นถิ่นที่อยู่มาช้านานในเขตแดนจังหวัดตราดและมีสัญชาติไทยกันทุกคน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้นค่อนข้างทุรกันดารห่างไกลและยังเป็นเขตชายแดน คนซัมเรดำรงชีวิตด้วยการหาอาหารจากธรรมชาติรอบตัวและเก็บของป่า เช่น…


    Continue reading
  • แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

    ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นดินแดนที่มีความร่ำรวยหลากหลายด้านภาษาชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง ในจำนวนประชากรกว่า 65 ล้านคนนั้น มีภาษาพูดต่างๆ กันถึงกว่า 70 กลุ่มภาษา กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของประเทศ ในขณะที่เอเชียอาคเนย์มีทั้งสิ้นกว่า 1,000 ภาษา และในระดับโลกมีถึง 7,000 ภาษา (สุวิไล เปรมศรีรัตน์, 2547) ภาษาแสดงถึงความเป็นมนุษย์ ภาษาสะท้อนระบบวิธีคิด ระบบความรู้ของชนแต่ละกลุ่ม ภาษาจึงเป็นสิ่งที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชน…


    Continue reading
  • แผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดน

    ภาษากลุ่มย่อยหรือชนกลุ่มน้อยมีจำนวนผู้พูดภาษามากน้อยต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นกลุ่มใหญ่มักมีถิ่นฐานอยู่แนวเขตชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษามลายู ภาษามอญ ภาษากะเหรี่ยง ภาษามลายู เป็นต้น


    Continue reading
  • แผนที่ภาษาในภาวะวิกฤตใกล้สูญ

    อย่างไรก็ตาม นอกจากกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยและกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนแล้ว ยังมีอีก 16 กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบว่า มีจำนวนผู้พูดภาษาน้อยมาก และมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ทำให้ภาษามีแนวโน้มอยู่ในภาวะใกล้สูญไปพร้อมกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ท้องถิ่น ได้แก่ ภาษากะซอง ชอง ซัมเร ชอุ้ง ขมุ เลอเวือะ ก๋อง แสก โซ่ (ทะวืง) ญัฮกุร มอแกน อูรักลาโวยจ มานิ อึมปี้ มลาบรี และบีซู


    Continue reading
  • ระบบเขียนภาษาชองอักษรไทย (Chong writing system)

    Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Nulla convallis egestas rhoncus. Donec facilisis fermentum sem, ac viverra ante luctus vel. Donec vel mauris quam. Lorem ipsum dolor…


    Continue reading