บทร้อง/คำกลอน

บทร้อง หรือ คำกลอนเป็นศิลปะทางภาษาที่ต้องอาศัยทักษะความชำนาญด้านภาษาในขั้นสูง เนื่องด้วยบทร้องหรือคำกลอนเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะเป็นสื่อสารเรื่องราวแค่เพียงเท่านั้นแต่จะต้องถูกต้องตามแบบแผนที่เรียกว่า “ฉันทลักษณ์”   ต้องใช้คำคล้องจองให้ถูกจังหวะจะโคน ต้องมีการเลือกใช้คำที่เหมาะสม อีกทั้งยังพบว่าบทร้องหรือคำกลอนยังมีการใช้คำเปรียบเปรยที่ต้องตีความผ่านวัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้นเป็นพื้นฐาน

ระบบตัวเขียนภาษาท้องถิ่นสามารถช่วยให้เจ้าของภาษาสามารถบันทึกบทร้องหรือคำกลอนที่มีอยู่ในวัฒนธรรมของตนเองได้ หลายกลุ่มใช้บทร้องสำหรับใช้ในพิธีกรรมสำคัญของชุมชน การมีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจะช่วยให้เกิดการสืบทอดบทร้องในพิธีกรรมสู่คนรุ่นต่อไปได้ ในขณะที่บางกลุ่มสามารถนำเอาระบบตัวเขียนภาษาท้องถิ่นไปเรียบเรียงบทร้องหรือคำกลอนใหม่ ๆ สำหรับใช้เพื่อความบันเทิงในชุมชนซึ่งเป็นการสืบต่อภาษาท้องถิ่นในอีกรูปแบบหนึ่ง

บทร้อง/คำกลอน – เลอเวือะ

เลอซอมแ’ล เป็นบทกวีของชาวเลอเวือะ บ้านป่าแป๋ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่สะท้อนให้เห็น ความงดงาม ความซับซ้อนของภาษา โลกทัศน์ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของชุมชนชาวเลอเวือะ ...

บทร้อง/คำกลอน – ‘ปาตง

'ปาตง เป็นมุขปาฐะหรือบทกลอนประเภทร้อยกรองของชาวมลายูดั้งเดิมที่ไม่อาจแยกออกจากวิถีชีวิตของชาวมลายูได้ คำว่า 'ปาตง เป็นการออกเสียงตามภาษามลายูปาตานี ในภาษามาเลเซียจะออกเสียงเป็น ‘ปันตุน’ (pantun)