เลอซอมแ’ล

ภาษาเลอเวือะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เลอซอมแ’ล เป็นบทกวีของชาวเลอเวือะ บ้านป่าแป๋ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่สะท้อนให้เห็น ความงดงาม ความซับซ้อนของภาษา โลกทัศน์ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของชุมชนชาวเลอเวือะ

เลอซอมแ’ล มี 2 ลักษณะ คือ เลอซอมแ’ล ที่มีลักษณะเนื้อหาตายตัว มีความยาว หลายบท และเลอซอมแ’ล ในลักษณะการร้องสด โต้ตอบกันระหว่างชาย – หญิง ไม่มีเนื้อหาหรือคำร้องที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของผู้ร้อง ภาษาที่ใช้ในการขับร้องเลอซอมแ’ล มีความแตกต่างจากภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ จะใช้ภาษาที่สุภาพและนุ่มนวล แสดงลักษณะรำพึงรำพัน เปรียบเปรยกับธรรมชาติ อีกทั้งยังมีสัมผัสวรรคตอน ทำให้เกิดความไพเราะอีกด้วย

ชาวเลอเวือะร้องเลอซอมแ’ล เพื่อความสนุกสนาน และเป็นการทักทายเวลามีงานสำคัญ เช่น งานศพ งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เวลามีคนมาเยี่ยมบ้าน หรือการร้องเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว คนที่เป็นเจ้าบ้าน จะร้องลักษณะถ่อมตัว อาหารไม่ค่อยดี การรับรองไม่ค่อยดี คนที่เป็นแขกมาเยี่ยม ก็จะร้องชม แล้วก็ถามไถ่ว่าคนที่บ้านสบายดีไหม ตอนแรกจะถามถึงถนนหนทางที่มา มีปัญหาหรือไม่ สะดวกไหม คนตอบก็จะบอกว่า ไม่มีตอไม้ที่จะทำให้สะดุดหกล้ม แล้วถามทุกข์สุขของคนที่บ้าน ป่วยไข้ เป็นหวัดหรือไม่ หากเป็นฤดูฝน ก็จะถามว่าข้าวงามดีไหม งอกเหมือนเขี้ยวงูไหม แล้วก็ถามถึงคู่ครอง อยู่สบายดีไหม ก็จะคุยหยอกล้อกันไปว่าไม่มีแฟน จากนั้นเริ่มร้องถึงภาคความปรารถนา

คนร้องเลอซอมแ’ล ต้องมี 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป บางครั้งมีการร้องคนเดียว เวลาผู้ชายไปหยอกสาวที่บ้าน แต่ผู้หญิงอยู่ในบ้าน ถ้าร้อง 3 จบ ถ้าผู้หญิงไม่ตื่น (ไม่ตอบกลับ) ผู้ชายก็ต้องกลับบ้านไป

การถ่ายทอดเลอซอมแ’ลในอดีต จะใช้วิธีจำกันอย่างเดียว เพราะยังไม่มีตัวหนังสือ คนหนุ่มที่สนใจจะคอยติดตามผู้ใหญ่ไปฟังการร้อง ผู้หญิงที่เป็นสาวก็จะมานอนฟังที่บ้านสาวที่ร้องเป็นแล้ว นอนกับเพื่อน กับพี่สาว ส่วนการถ่ายทอดเลอซอมแ’ลที่เป็นภาค ก็จะไปร้องกันที่ไร่ เวลาถางหญ้า (ถางหญ้าไปด้วย เรียนไปด้วย) แต่ในปัจจุบันเมื่อได้มีการพัฒนาระบบตัวเขียนภาษาเลอเวือะขึ้น ทำให้สามารถบันทึกเลอซอมแ’ล เพื่อใช้ในการร้องและการถ่ายทอดได้

ตัวอย่างเลอซอมแ’ล

ดัฮ โกะ เมะ เตอ-อูม ทิ เซอ ตอ-อิจ
โปฮ เตอ-อู ละ เมะ เพยะ กอ-แอ คยู-อี
มอก โฆง กอ-แอ โกยฮ เลอ โอฮ ทืม เม
มอก ดิบ เซอ เพยีย เปยอ-อึฮ  เทีย รอด
มอก ’มา เฌียง โกลง เฌอ-อูม โซง เบ-อีญ เลียก
เลียก ฆอม เกยอ-อิฮ โวก โลก เญือะ ตา-อือ
เออ-อีญ จับ กา-อีญ โฆง โวง ’มา-แอ ทู-อิจ

มอก เตอ-อู ละ เมะ โฆง กอ – แอ เ’ระ
เซอ มอก โฆง เกอ-อึด เลอ เงอ-อึด ทืม โบฮ
มอก ดิบ เซอ ปลังละ กา-อึง เทีย
มอก เตอ-อู นึง ทู รา-ออก ฆู ลอง
เกยอ-อิฮ มะ กวน เลอ แกลน โพะ ฮละ
มอก ’มา เฌียง กยะ เลอ เซอ-อุง โคะ เค
เซอ เงอ-อี ชวง ทู-อิจ เซอ กยัก ชวง โวง

บทนี้กล่าวถึงการฟันไร่ ว่าไม่ให้ฟันไร่ตรงที่มีต้นไทร เนื่องจากมีผี มีวิญญาณ มีเจ้าที่อยู่ไม่ให้ไปฟันไร่ตรงที่มีต้นโพธิ์ เพราะเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ฟันไร่ที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีดอกต้าง เนื่องจากดอกต้างจะขึ้นในที่ที่มีดินดีอุดมสมบูรณ์ ให้ฟันที่ป่าแก่ คือ ป่าที่เคยผ่านการทำไร่มานานแล้ว จะมีดินอุดมสมบูรณ์ ให้ฟันไร่ที่มีไม้โกยฮ และไม้มะเดื่อขึ้นชุกชุม ให้ฟันที่โล่ง สำหรับปลูกฝ้าย ฝ้ายจะขึ้นดี ไม่ฟันที่ยอดดอย ที่มีหญ้าฆูลองขึ้น เพราะเป็นหญ้าที่ฆ่าไม่ตาย ให้ฟันไร่ที่ข้างห้วย ไว้ปลูกข้าวฟ่าง (เพื่อใช้สำหรับทำขนมในพิธีกรรม) เพราะเวลาหมีมา หมีจะทำลายข้าวฟ่าง ให้ฟันไร่ข้างทาง ตัดกิ่งต้นไม้ใหญ่ ไว้ปลูกข้าวโพด เวลาที่นกทู-อิจ นกโวง มาเกาะที่หัวสันดอย จะดูสวยงาม

ดัฮ โกะ เมะ เตอ-อูม ทิ เซอ ตอ-อิจ
กอม เตอ-อูม เฮอ-อู อู เออ-อีญ เมือ ซะ
เอาะ แอ เญือม โรง โชง เซอ เงะ
โตฮ เฮงาะ ฮอก กอ อ เลอ คิด
วิด เฮงาะ เลอโ โคย-อีญ พู เพยะ
กอก เกยอ-อืน ’มา-แอ โปะ ชวง โยะ เญือะ
ลอน กอ ลัว ๆ เญือม จัว โซะ
ลอน โปะ เลอ โฮะ เญือม โญะ ปลา-แอ
ลอน โยะ เลอ โซ-อิจ โร-อิจ ’มา-แอ เล
โอ โลัว ๆ กัว เซอ ตอก
ปอก เฟือะ เลอบีญ เลอ ฌีญ กอ-อิจ จัว
เตอ-อุก เรอ-อุก เตะ นา-อีญ ฮอ-อิจ กา-อีญ โ

กอม เตอ-อูม เฮอ-อู เลอ-อีม เออ-อีญ เมือ พู
โรฮ เซาะ เลียง เตียก แอ เลอ แอ
พู เพยะ เปอ เจียง เปยียง เลอ-อิฮ โตฮ
เมะ เตอ-อูม เออ-อีญ วิด เฮงาะ เลอ โ
กอก เกยอ-อืน ’มา-แอ กอ ชวง อ โตฮ
เคือฮ พู-อี ตัง เญือะ เดือะ เลอ เว-อีญ
ลัว ๆ แอด ๆ เคียด โอ โยะ
เลอ โฮะ บู-อี ๆ เคียด โอ ฮมอง
ลอน โยะ เลอ เจ เปย เลอนาน
โอ โลอก ๆ เลออา-อูม ปอก เฟือะ
เตอ-อุก เรอ-อุก เตะ เ’ยียก ฮอ-อิจ กะ กา-อีญ

บทนี้สอนการครองเรือน สอนผู้หญิงว่าอย่าไปเที่ยว แล้วกลับค่ำ อย่าพูดคุย จนต้องกลับตอนเช้าเดี๋ยวหมาจะเห่า จะมีคนนินทา ค่ำมาให้เตรียมลงมาตำข้าว ตำข้าวเปลือกที่แม่สามีตากทุกค่ำ จะได้พูดคุยกับแม่สามีตอนตำข้าว คุยกับพ่อสามี ที่ชายคาบ้าน ให้คนข้างบ้านอิจฉา ถ้าแม่สามีบ่นเรื่อยเปื่อย ให้ทำเหมือนไม่ต้องสนใจ ถ้าพ่อสามีบ่นมาก เวลาดื่มเหล้า ให้ทำเป็นไม่ได้ยิน ถ้าเห็นพี่ชายทะเลาะกับน้องสาว เหมือนนกพีดกับนกแก้วทะเลาะกัน แย่งกันกินข้าวเปลือก ให้ค่อยๆพูดค่อยๆจากัน ให้ใจเย็นเหมือนน้ำที่รินไหล ในน้ำปิง ส่องแสง เมื่อแดดอ่อน ให้ไกล่เกลี่ยแยกย้าย จูงมือพี่ชายถึงหัวนอน จูงแขนน้องสามีไปถึงหัวบันได

อ้างอิง
เรียบเรียง
ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล