นิทานภาพ (Picture story)

สื่อนิทานภาพมีลักษณะเป็นภาพวาดที่มีการเรียงลำดับเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ชัดเจน โดยภาพที่วาดควรมีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน (จากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพหนึ่ง) ซึ่งมีจำนวนภาพประมาณ 4 - 5 ภาพ ตั้งแต่เริ่มเรื่องจนกระทั่งจบเรื่อง ส่วนจำนวนของนิทานภาพที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะขึ้นอยู่กับแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละระดับชั้น

เป้าหมายและจุดประสงค์

  1. เพื่อเพิ่มพูนทักษะการพูดของเด็ก โดยให้เด็กสามารถพูดเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้
  2. เพื่อฝึกทักษะการลำดับเหตุการณ์  โดยใช้ภาพและเรื่องราวเป็นสื่อการเรียนการสอน
  3. เพื่อฝึกทักษะการให้เหตุผล หรือการมีเหตุและผล โดยในการเรียงลำดับภาพหากครูหรือเพื่อนถามว่าทำไมจึงเรียงอย่างนี้ จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กเริ่มคิดและระดมเหตุผลมาอธิบายให้ครูและเพื่อนฟัง

วิธีการจัดกิจกรรมโดยใช้นิทานภาพ (ใช้เวลาในการสอนประมาณ 10 - 15 นาที)

  1. ครูเตรียมนิทานภาพที่จะใช้ในการสอน พร้อมกับแสดงภาพให้นักเรียนดู
  2. นักเรียนช่วยกันบอกถึงรายละเอียดที่มีอยู่ในภาพที่ครูถือมาทีละภาพจนครบทุกภาพ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน   และอย่างไร)
  3. ครูแจกภาพให้นักเรียนได้ดูอย่างทั่วถึง (ให้เด็กๆ ได้สัมผัสและดูภาพโดยทั่วกัน)
  4. ให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งออกมาถือภาพ แล้วพยายามช่วยกันเรียงลำดับภาพหรืออาจให้นักเรียนที่ไม่ได้ถือภาพมาเรียงลำดับเพื่อนๆ ที่กำลังถือภาพอยู่
  5. ให้นักเรียนที่กำลังถือภาพแต่ละภาพบอกเล่าเรื่องราวในภาพของตน แล้วเชื่อมโยงกับภาพต่อไปอย่างสอดคล้องกัน หรือให้นักเรียนที่ไม่ได้ถือภาพเล่าเรื่องราวต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนจบ
  6. ผลัดเปลี่ยนให้นักเรียนกลุ่มอื่นๆ หรือคนอื่นๆ ออกมาเรียงลำดับและเล่าเรื่องจากนิทานภาพด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าอาจจะเรียงลำดับเหมือนกัน  แต่การสื่อสารหรือการเล่าเรื่องราวของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ออกมาเล่า

นิทานภาพชอง
เป็นการลำดับเรื่องราวด้วยภาพ ของวิถีชีวิตชุมชนชองที่เด็กชองเองต่างคุ้นเคยกันดี

นิทานภาพ 1"
นิทานภาพ 2"
นิทานภาพ 3"
นิทานภาพ 4"