โครงการ การจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่

ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิหมู่บ้านเด็กเพซตาล๊อตซี่ (Pestalozzi Children’sFoundation: PCF) โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เด็กและเยาวชนทุกคนในเกาะลันตาที่อยู่ร่วมกันหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งไทย-พุทธ ไทย-จีน ไทย-มุสลิม และอูรักลาโวยจ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมรวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กชาวอูรักลาโวยจได้เข้าถึงองค์ความรู้ทางภาษา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง

แผนที่ภาษาในภาวะวิกฤตใกล้สูญ

ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ มีภาษามากกว่า 70 ภาษา จำแนกเป็น 5 ตระกูลภาษาที่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ภาษาต่าง ๆ นั้นมีความสัมพันธ์เชิงสังคมเป็นระดับชั้น มีภาษาไทยมาตรฐานอยู่ในระดับสูงสุด สำหรับภาษากลุ่มชาติพันธุ์ส่วนมากเป็นภาษาที่สองหรือภาษาที่สามในสถานการณ์ที่ต่างกัน อิทธิพลของโลกาภิวัตน์และนโยบายภาษาของประเทศมีส่วนทำให้ภาษาต่าง ๆ อยู่ในภาวะถดถอย ในจำนวนภาษาทั้งหมดของประเทศ มีจำนวน 15 ภาษา ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความพยายามจากเจ้าของภาษาบางกลุ่มยังมีพลังและความพยายามสงวนรักษาภาษาของตนไว้ (สุวิไล เปรมศรีรัตน์, 2549)

ระบบเขียนอักษรไทย


จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2544 ระบบเขียนอักษรไทยเริ่มพัฒนาจากภาษาชองเป็นภาษาแรก โดยทีมวิจัยชาวชองร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านขั้นตอนการพิจารณากำหนดอักษร การทดสอบระบบเขียน และหลักเกณฑ์การใช้ จนได้รับการรับรองจากราชบัณฑิตยสภาในปีพ.ศ. 2555

หนังสือเล่มยักษ์


หนังสือทำมือขนาดใหญ่เป็นสื่อการสอนตามแนวทางทวิ-พหุภาษาศึกษา ใช้เป็นสื่อการสอนแบบอ่านร่วมกันทั้งห้องสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น เพื่อเน้นด้านความหมายความเข้าใจเป็นหลัก และความถูกต้องตามลำดับ เด็กได้เรียนรู้รูปแบบประโยคและคำศัพท์ต่าง ๆ ภาพประกอบจึงต้องสื่อความหมายและต่อเนื่องกันให้เด็กสามารถคาดเดาเรื่องราวได้ แม้จะยังอ่านหนังสือไม่ได้ก็ตาม

กิจกรรมอื่นๆ

กิจกรรมที่ผ่านมา

กิจกรรมที่น่าสนใจ

No Upcoming Events Found

ความร่วมมือ