ปา?เรเร

ปา?เรเร ออกเสียงว่า <ปะ เร่ เร่> หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “กระแจ้ะ” เป็นการร้องเพลงสดของชาวญัฮกุร เสียงร้อง ปา?เรเร มีการเอื้อนช้าช้า ใช้กลองโทน หรือตะโพน เป็นเครื่องดนตรีให้จังหวะ เนื้อเพลงเอ่ยถึงการทักทาย ความเป็นอยู่ คำสอน การสรรเสริญ การเกี้ยวพาราสี เรื่องเล่า หรืองานหอดอกผึ้ง เป็นต้น บทเพลงจะแต่งขึ้นตอบโต้แต่ละฝ่ายในทันที ผู้ร้องแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ฝ่ายละกี่คนก็ได้ นั่งล้อมวงบนพื้นและมีครูเพลงหรือผู้สูงอายุนั่งคั่นตรงกลาง มีผู้บอกบทให้กับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตีกลองโทน มักจะขับบทเพลงในยามค่ำคืน บางครั้งขับร้องกันถึงเช้าวันใหม่ ปัจจุบันมีการขับร้อง ปา?เรเร ในช่วงงานประเพณี เช่น ก่อนวันงานแห่หอดอกผึ้ง เป็นต้น

อ้างอิง

  1. พนม จิตรจำนงค์ และ ห่าม เศรษฐกุญชร (บรรณาธิการ). (2556). ปา?พั่ก นั่งเดิม คอง ญัฮกุร ตามรอยภาษา ประเพณี วัฒนธรรมชาวญัฮกุร. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต มหาวิทยาลัยมหิดล.
  2. อนันต์ ลิมปคุปตถาวร และคณะ. (2549). ญัฮกุร มอญโบราณแห่งเทพสถิต. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.
  3. อภิญญา บัวสรวง และ สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2541). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ ญัฮกุ้ร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.