ปา?เรเร
ปา?เรเร ออกเสียงว่า <ปะ เร่ เร่> หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “กระแจ้ะ” เป็นการร้องเพลงสดของชาวญัฮกุร เสียงร้อง ปา?เรเร มีการเอื้อนช้าช้า ใช้กลองโทน หรือตะโพน เป็นเครื่องดนตรีให้จังหวะ เนื้อเพลงเอ่ยถึงการทักทาย ความเป็นอยู่ คำสอน การสรรเสริญ การเกี้ยวพาราสี เรื่องเล่า หรืองานหอดอกผึ้ง เป็นต้น บทเพลงจะแต่งขึ้นตอบโต้แต่ละฝ่ายในทันที ผู้ร้องแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ฝ่ายละกี่คนก็ได้ นั่งล้อมวงบนพื้นและมีครูเพลงหรือผู้สูงอายุนั่งคั่นตรงกลาง มีผู้บอกบทให้กับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตีกลองโทน มักจะขับบทเพลงในยามค่ำคืน บางครั้งขับร้องกันถึงเช้าวันใหม่ ปัจจุบันมีการขับร้อง ปา?เรเร ในช่วงงานประเพณี เช่น ก่อนวันงานแห่หอดอกผึ้ง เป็นต้น
อ้างอิง
- พนม จิตรจำนงค์ และ ห่าม เศรษฐกุญชร (บรรณาธิการ). (2556). ปา?พั่ก นั่งเดิม คอง ญัฮกุร ตามรอยภาษา ประเพณี วัฒนธรรมชาวญัฮกุร. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต มหาวิทยาลัยมหิดล.
- อนันต์ ลิมปคุปตถาวร และคณะ. (2549). ญัฮกุร มอญโบราณแห่งเทพสถิต. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.
- อภิญญา บัวสรวง และ สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2541). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ ญัฮกุ้ร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.