Projects

  • ระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย (Thai-Based Lawua Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2550 ภาษาเลอเวือะเริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “รักษ์ละโพงละเวือะ บ้านป่าแป๋อำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน” โดยทีมวิจัยชาวเลอเวือะร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)    

  • ระบบเขียนภาษากูย (บ้านขี้นาค) อักษรไทย (Thai-Based Kuy Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ภาษากูย บ้านขี้นาค เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “แนวทางการสร้างเครื่องมือเพื่อบันทึกภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวกูย ผ่านภูมิปัญญาการทอผ้าไหม” ชุมชนบ้านขี้นาค ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ โดยทีมวิจัยชาวกูยร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  

  • ระบบเขียนภาษาขมุ (บ้านห้วยเอียน) อักษรไทย (Thai-Based Khmu Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2557 ภาษาขมุ บ้านห้วยเอียน เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “ฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นขมุเพื่อเด็กและเยาวชนบ้านห้วยเอียนตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่นจังหวัดเชียงราย” โดยทีมวิจัยชาวขมุร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

  • ระบบเขียนภาษาก๋องอักษรไทย (Thai-Based Gong Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป  ในปีพ.ศ.2548 ภาษาก๋อง ได้เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “การศึกษาและฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมละว้า(ก๋อง)บ้านกกเชียง ต.ห้วยขมิ้นอ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี” โดยทีมวิจัยชาวก๋องร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

  • ระบบเขียนภาษาชองอักษรไทย (Thai-Based Chong Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2544 ระบบเขียนอักษรไทยเริ่มพัฒนาจากภาษาชองเป็นภาษาแรก โดยทีมวิจัยชาวชองร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านขั้นตอนการพิจารณากำหนดอักษร การทดสอบระบบเขียน และหลักเกณฑ์การใช้ จนได้รับการรับรองจากราชบัณฑิตยสภาในปีพ.ศ. 2555

  • ระบบเขียนภาษาอาข่าอักษรไทย (Thai-Based Akha Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ภาษาอาข่า บ้านแม่สะแลป เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “ฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านประวัติศาสตร์และคำสอนชาวอาข่า บ้านแม่สะแลป ต.แม่สะลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยทีมวิจัยชาวอาข่าร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)