• ภาษามอแกน

    ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า “มอแกน” มีความหมายว่าอย่างไร แต่จากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่อาจสันนิษฐานได้ว่า คำว่า “มอแกน” มาจากนิทานพื้นบ้านที่มีการเล่าสืบทอดกันมา โดยน่าจะมาจากคำว่า “ละมอ” ซึ่งแปลว่า “จม” รวมกับคำว่า “เอาะเกน” ซึ่งแปลว่า “ทะเล” กลายเป็นคำว่า “มอแกน” คนทั่วไปรู้จักคนกลุ่มนี้ในนาม “ชาวเล” ชาวมอแกนมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับท้องทะเลเป็นอย่างมาก โดยในอดีตนั้นพวกเขาอาศัยและดำรงชีพอยู่ตามเกาะและชายฝั่งต่าง ๆ ปัจจุบันพบชาวมอแกนอาศัยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางตอนใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต


    Continue reading
  • ระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย (Thai-Based Lawua Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2550 ภาษาเลอเวือะเริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “รักษ์ละโพงละเวือะ บ้านป่าแป๋อำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน” โดยทีมวิจัยชาวเลอเวือะร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


    Continue reading
  • ระบบเขียนภาษากูย (บ้านขี้นาค) อักษรไทย (Thai-Based Kuy Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ภาษากูย บ้านขี้นาค เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “แนวทางการสร้างเครื่องมือเพื่อบันทึกภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวกูย ผ่านภูมิปัญญาการทอผ้าไหม” ชุมชนบ้านขี้นาค ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ โดยทีมวิจัยชาวกูยร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


    Continue reading
  • ระบบเขียนภาษาขมุ (บ้านห้วยเอียน) อักษรไทย (Thai-Based Khmu Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2557 ภาษาขมุ บ้านห้วยเอียน เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “ฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นขมุเพื่อเด็กและเยาวชนบ้านห้วยเอียนตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่นจังหวัดเชียงราย” โดยทีมวิจัยชาวขมุร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


    Continue reading
  • ระบบเขียนภาษาก๋องอักษรไทย (Thai-Based Gong Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป  ในปีพ.ศ.2548 ภาษาก๋อง ได้เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “การศึกษาและฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมละว้า(ก๋อง)บ้านกกเชียง ต.ห้วยขมิ้นอ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี” โดยทีมวิจัยชาวก๋องร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


    Continue reading
  • ระบบเขียนภาษาชองอักษรไทย (Thai-Based Chong Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2544 ระบบเขียนอักษรไทยเริ่มพัฒนาจากภาษาชองเป็นภาษาแรก โดยทีมวิจัยชาวชองร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านขั้นตอนการพิจารณากำหนดอักษร การทดสอบระบบเขียน และหลักเกณฑ์การใช้ จนได้รับการรับรองจากราชบัณฑิตยสภาในปีพ.ศ. 2555


    Continue reading
  • ระบบเขียนภาษาอาข่าอักษรไทย (Thai-Based Akha Orthography)

    จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ภาษาอาข่า บ้านแม่สะแลป เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “ฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านประวัติศาสตร์และคำสอนชาวอาข่า บ้านแม่สะแลป ต.แม่สะลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยทีมวิจัยชาวอาข่าร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


    Continue reading
  • ภาษากฺ๋อง

    คำว่า “กฺ๋อง” เป็นคำที่คนกฺ๋องใช้เรียกชื่อกลุ่มและภาษาของตัวเอง ขณะที่ทางราชการเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ลัวะ” แต่คนไทยในพื้นที่ใกล้เคียงส่วนใหญ่มักเรียก“ละว้า” จนปรากฏมีคำว่า “ละว้า” นำหน้าชื่อหมู่บ้านที่มีชาวกฺ๋อง อาศัยอยู่แทบทุกหมู่บ้าน เช่น บ้านละว้าคอกควาย บ้านละว้าวังควาย วิถีชีวิตชาวกฺ๋องส่วนใหญ่พึ่งพิงธรรมชาติ ช้อนกุ้ง จับปลา ล่าสัตว์ หาหน่อไม้ เก็บเห็ด และปลูกข้าวไร่ ในอดีตชาวกฺ๋องมีวัฒนธรรมการแต่งกายด้วยผ้าที่ทอขึ้นเองเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ปัจจุบันการแต่งกายในชุดพื้นเมืองแทบจะไม่เหลือให้เห็นกันแล้ว ส่วนศิลปการทอผ้านั้นหายไปกับอดีต จนกระทั่งมีชาวกฺ๋องกลุ่มหนึ่งฟื้นฟูหัตถกรรมทอผ้าขึ้น ชาวกฺ๋องจึงเริ่มหันกลับมาทอผ้ากันอีกครั้ง ในขณะเดียวกันแนวคิดอีกด้านหนึ่งที่ไม่หวั่นไหวไปกับกระแสสังคมใดๆ นั่นคือ แนวคิดความเชื่อเรื่องการนับถือผี ทุกวันนี้ในวันข้างขึ้นเดือน…


    Continue reading
  • กะซอง

    กะซอง เป็นชื่อที่ผู้พูดเรียกภาษาของตัวเองและเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ของพวกเขา สันนิษฐานว่ามีความหมายว่า “คน” ภาษากะซองเป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร กลุ่มย่อยเดียวกันกับภาษาชองที่จังหวัดจันทบุรีและภาษาซัมเรที่จังหวัดตราด ผู้พูดกะซองมีถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เขตชายแดนติดต่อกับกัมพูชา ภาษานี้เดิมเป็นที่รู้จักของคนภายนอกว่า “ชองจังหวัดตราด (Chong of Trat)” ด้วยมีความคล้ายคลึงของชื่อและความใกล้เคียงของภาษา ทำให้เข้าใจว่าเป็นภาษาเดียวกัน ชาวกะซองเองบางคนก็เรียกตัวเองว่า คนชอง พูดชอง ด้วยเหมือนกัน ชาวกะซองส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และจำนวนเล็กน้อยอยู่ที่บ้านปะเดา ในตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่…


    Continue reading