แบบฟอร์มสมาชิกสำหรับดาวน์โหลดสื่อ
Posted on November 27, 2023ภาษามอแกน
Posted on February 18, 2020ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า “มอแกน” มีความหมายว่าอย่างไร แต่จากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่อาจสันนิษฐานได้ว่า คำว่า “มอแกน” มาจากนิทานพื้นบ้านที่มีการเล่าสืบทอดกันมา โดยน่าจะมาจากคำว่า “ละมอ” ซึ่งแปลว่า “จม” รวมกับคำว่า “เอาะเกน” ซึ่งแปลว่า “ทะเล” กลายเป็นคำว่า “มอแกน” คนทั่วไปรู้จักคนกลุ่มนี้ในนาม “ชาวเล” ชาวมอแกนมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับท้องทะเลเป็นอย่างมาก โดยในอดีตนั้นพวกเขาอาศัยและดำรงชีพอยู่ตามเกาะและชายฝั่งต่าง ๆ ปัจจุบันพบชาวมอแกนอาศัยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางตอนใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต ภาษามอแกน เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลออสโตรเนเชียน สาขามลาโย – โพลีเนเชียน สาขาย่อยมอแกน
ระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย (Thai-Based Lawua Orthography)
Posted on January 29, 2020จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2550 ภาษาเลอเวือะเริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “รักษ์ละโพงละเวือะ บ้านป่าแป๋อำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน” โดยทีมวิจัยชาวเลอเวือะร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ระบบเขียนภาษากูย (บ้านขี้นาค) อักษรไทย (Thai-Based Kuy Orthography)
Posted on January 29, 2020จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ภาษากูย บ้านขี้นาค เริ่มพัฒนาระบบเขียนอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในโครงการ “แนวทางการสร้างเครื่องมือเพื่อบันทึกภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวกูย ผ่านภูมิปัญญาการทอผ้าไหม” ชุมชนบ้านขี้นาค ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ โดยทีมวิจัยชาวกูยร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)