การวิจัย

การศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมที่อยู่ในภาวะวิกฤตในประเทศไทยเป็นภาระกิจเริ่มแรกและได้ขยายการดำเนินงานไปสู่พื้นที่ของ การจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา สำหรับชั้นเรียนภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทย เป็นการพัฒนางานด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ และสร้างความท้าทายในสหวิทยาการด้านการศึกษาและฟื้นฟูภาษาในภาวะวิกฤตระดับต่าง ๆ ในประเทศไทย

การฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป็นรูปแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มเล็กๆ สร้างคนในท้องถิ่นให้มีความสามารถในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ภาษา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของตนเอง ทีมนักวิจัยท้องถิ่นมีความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นและใช้ภาษาท้องถิ่นของตนเอง การทำงานเป็นทีมของนักวิจัยถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดพลังชุมชนที่เข้มแข็ง นำไปสู่การพัฒนาและแก้ไขปัญหาภายในชุมชนร่วมกัน นอกจากนี้ การทำงานฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน ยังเป็นการรักษาสมบัติอันล้ำค่าของบรรพบุรุษที่สรรสร้างและส่งต่อมาถึงรุ่นลูกหลาน ที่นับเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

การจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา

เป็นนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบคิดและสติปัญญา เพิ่มพูนความสามารถในการเรียนรู้ผ่านนวัตกรรมภาษาแม่ที่เน้นการอ่านออก-เขียนได้ รวมทั้งช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ของเด็กในพื้นที่ได้ โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา (ภาษาไทย-ภาษามลายู) เริ่มต้นดำเนินการในโรงเรียนของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล โดยใช้ภาษามลายูปาตานีเป็นฐานของการเรียนรู้ของเด็กและใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ในขณะเดียวกันก็มีกระบวนการเชื่อมโยงเข้าสู่ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาไทยอย่างรวดเร็ว

แผนที่ภาษาในภาวะวิกฤตใกล้สูญ

ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ มีภาษามากกว่า 70 ภาษา จำแนกเป็น 5 ตระกูลภาษาที่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ภาษาต่าง ๆ นั้นมีความสัมพันธ์เชิงสังคมเป็นระดับชั้น มีภาษาไทยมาตรฐานอยู่ในระดับสูงสุด สำหรับภาษากลุ่มชาติพันธุ์ส่วนมากเป็นภาษาที่สองหรือภาษาที่สามในสถานการณ์ที่ต่างกัน อิทธิพลของโลกาภิวัตน์และนโยบายภาษาของประเทศมีส่วนทำให้ภาษาต่าง ๆ อยู่ในภาวะถดถอย ในจำนวนภาษาทั้งหมดของประเทศ มีจำนวน 15 ภาษา ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความพยายามจากเจ้าของภาษาบางกลุ่มยังมีพลังและความพยายามสงวนรักษาภาษาของตนไว้ (สุวิไล เปรมศรีรัตน์, 2549)

ระบบเขียนอักษรไทย


จัดทำขึ้นสำหรับภาษาที่ไม่มีระบบตัวเขียนมาก่อน เพื่อให้เจ้าของภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบต่อไป ในปีพ.ศ.2544 ระบบเขียนอักษรไทยเริ่มพัฒนาจากภาษาชองเป็นภาษาแรก โดยทีมวิจัยชาวชองร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านขั้นตอนการพิจารณากำหนดอักษร การทดสอบระบบเขียน และหลักเกณฑ์การใช้ จนได้รับการรับรองจากราชบัณฑิตยสภาในปีพ.ศ. 2555

หนังสือเล่มยักษ์


หนังสือทำมือขนาดใหญ่เป็นสื่อการสอนตามแนวทางทวิ-พหุภาษาศึกษา ใช้เป็นสื่อการสอนแบบอ่านร่วมกันทั้งห้องสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น เพื่อเน้นด้านความหมายความเข้าใจเป็นหลัก และความถูกต้องตามลำดับ เด็กได้เรียนรู้รูปแบบประโยคและคำศัพท์ต่าง ๆ ภาพประกอบจึงต้องสื่อความหมายและต่อเนื่องกันให้เด็กสามารถคาดเดาเรื่องราวได้ แม้จะยังอ่านหนังสือไม่ได้ก็ตาม

VDO

อูรักลาโวยจ (Urak Lawoc)
บ้านสังกาอู้ เกาะลันตา จังหวัดกระบี่

กิจกรรมอื่นๆ

กิจกรรมที่ผ่านมา

กิจกรรมที่น่าสนใจ

No Upcoming Events Found

ความร่วมมือ