• Ethnic Groups

    ชอง

    คำว่า “ชอง” แปลว่า “คน” ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมในดินแดนเอเชียอาคเนย์ สมัยอาณาจักรเขมร เป็นกลุ่มชนที่มีชื่อเสียงในการทำกระวาน และเครื่องเทศต่าง ๆ ชาวชองและกลุ่มชนใกล้เคียง กระจายตัวอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะบริเวณที่ต่อเนื่องกับประเทศกัมพูชา ในบางพื้นที่จะเรียกคนชองว่า “ชึ่มช์อง” ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่หนาแน่นในเขตกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี ตำบลตะเคียนทอง และตำบลคลองพลู ส่วนในเขตตำบลพลวง และในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อนยังมีประชากรที่พูดภาษาชองได้เพียงไม่กี่คน

  • Ethnic Groups

    ชอุง

    คำว่า ชอุง มีความหมายว่า “คน” ออกเสียงด้วยลักษณะน้ำเสียงต่ำกระตุกคล้ายคำว่า ชอง ในภาษาชอง ชาวชอุงปัจจุบันอยู่ที่บ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ และบางส่วนอยู่ในอำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ถิ่นฐานเดิมของพวกเขายู่ในจังหวัดกัมปงโสม จังหวัดชายทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา โดยสันนิษฐานว่า ชาวชอุงที่อยู่ในประเทศไทยอพยพเข้ามาในช่วงเวลาของสงครามอานามสยามยุทธราวพุทธศักราช ๒๓๗๔ – ๒๓๘๗ โดยพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพนำชาวชอุงเดินทางจากตะวันออกสู่จังหวัดกาญจนบุรี สุดแดนตะวันตกของประเทศไทย และให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมแม่น้ำแคว อำเภอลาดหญ้า ก่อนที่ชาวชอุงกลุ่มใหญ่จะย้ายไปยังอำเภอศรีสวัสดิ์ในปัจจุบัน

  • Ethnic Groups

    ภาษาญัฮกุร

    คำว่า “ญัฮกุร” แปลว่า “คนภูเขา” ญัฮ แปลว่า “คน” และ กุร แปลว่า “ภูเขา” คนทั่วไปรู้จักคนกลุ่มนี้ในนาม “คนดง” หรือ “ชาวบน” ชาวญัฮกุรอาศัยอยู่ในป่าบนภูเขา เดิมเป็นพรานป่าและย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ เคยอาศัยอยู่ในป่าแถบเทือกเขาพังเหย มีอาณาเขตที่ต่อเนื่องกันระหว่างภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันพบชาวญัฮกุรอาศัยหนาแน่นในเขตอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ภาษาญัฮกุร เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ – เขมร สาขาย่อยโมนิก มีความใกล้เคียงกับภาษามอญซึ่งอยู่ในสาขาเดียวกัน

  • Ethnic Groups

    ซัมเร

    ผู้พูดพูดซัมเร มีถิ่นฐานอยู่ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ที่หมู่บ้านมะม่วง บ้านนนทรีย์ และบ้านคลองโอน เขตตำบลนนทรีย์ เชื่อว่าชาวซัมเรเป็นคนพื้นถิ่นแต่ดั้งเดิม อพยพมาจากบริเวณเทือกเขาบรรทัดในกัมพูชา คำว่า ซัมเร มีความหมายว่า “คน (คนทำนา)” เป็นชื่อที่ผู้พูดเรียกกลุ่มตนเองและภาษาของพวกเขา แต่บุคคลภายนอกเรียก ชอง เช่นเดียวกับเรียกกลุ่มกะซองซึ่งอยู่ในตำบลใกล้ๆ กัน ชาวซัมเรเองก็ยอมรับชื่อที่คนภายนอกเรียกกลุ่มตนไปด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นคนละกลุ่มคนละภาษากัน วิถีชีวิตของกลุ่มซัมเรไม่ค่อยเป็นที่รูจักของสังคมภายนอก แม้ว่าจะเป็นคนพื้นถิ่นที่อยู่มาช้านานในเขตแดนจังหวัดตราดและมีสัญชาติไทยกันทุกคน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้นค่อนข้างทุรกันดารห่างไกลและยังเป็นเขตชายแดน

  • map

    แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

    ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นดินแดนที่มีความร่ำรวยหลากหลายด้านภาษาชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง ในจำนวนประชากรกว่า 65 ล้านคนนั้น มีภาษาพูดต่างๆ กันถึงกว่า 70 กลุ่มภาษา กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของประเทศ

  • map

    แผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดน

    ภาษากลุ่มย่อยหรือชนกลุ่มน้อยมีจำนวนผู้พูดภาษามากน้อยต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นกลุ่มใหญ่มักมีถิ่นฐานอยู่แนวเขตชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษามลายู ภาษามอญ ภาษากะเหรี่ยง ภาษามลายู เป็นต้น

  • map

    แผนที่ภาษาในภาวะวิกฤตใกล้สูญ

    อย่างไรก็ตาม นอกจากกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยและกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนแล้ว ยังมีอีก 16 กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบว่า มีจำนวนผู้พูดภาษาน้อยมาก และมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ทำให้ภาษามีแนวโน้มอยู่ในภาวะใกล้สูญไปพร้อมกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ท้องถิ่น

  • Food

    ระบบเขียนภาษาชองอักษรไทย (Chong writing system)

    เพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูภาษาชองและการเรียนการสอนภาษาชองในโรงเรียน สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2544 โดยทีมวิจัยชาวชองร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ระบบเขียนภาษาชองอักษรไทยนี้ได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณากำหนดอักษร การทดสอบระบบเขียน และหลักเกณฑ์การใช้ ได้รับการรับรองจากราชบัณฑิตยสภาในปีพ.ศ. 2555